ดัชนีวัดความหดหู่... เรามักจะชื่นชมประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ยุคนี้ ทุกๆคนก็จะหยิบยก อินเดีย จีน หรือแม้แต่อินโดนีเซีย มาเป็นตัวอย่าง ส่วนประเทศอย่างญี่ปุ่นที่แทบไม่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเลย ก็จะเป็นตัวอย่างของความล้มเหลว ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลก เพราะในขณะเดียวกัน ใครๆก็รู้ว่า GDP ไม่ได้เป็นตัววัด ‘ความสุข’ ที่ดี 

แม้ว่าการที่ GDP ดี จะหมายถึง รายได้ดี ซึ่งก็เป็นตัวชี้วัดที่ดีส่วนหนึ่ง (ใครๆก็อยากได้รายได้ที่ดีขึ้น) แต่เศรษฐกิจที่มีอัตราการขยายตัวสูง ไม่ได้บ่งบอกถึงความยุติธรรมในสังคมว่า ทุกคนได้ประโยชน์เท่ากันหรือไม่ ฯลฯ

เพื่อให้การเปรียบเทียบสะท้อนถึงความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น ผมจึงขอนำเสนอสิ่งที่ต่างชาติเรียกว่า ‘Misery Index’ หรือ ผมขอเรียกเป็นภาษาไทยว่า ‘ดัชนีความหดหู่’

ในทางเศรษฐกิจ เขาจะบอกว่า ความหดหู่เกิดขึ้นจาก ๒ ปัจจัยคือ เงินเฟ้อ (เพราะทำให้ของแพง ส่งผลกระทบต่อคนยากจนมากเป็นพิเศษ) และ การว่างงาน (ไม่มีรายได้ เสียกำลังใจ) ดัชนีความหดหู่ จึงเป็นการนำเอา ๒ ปัจจัยนี้ในแต่ละประเทศมาบวกกัน

จากตารางที่นำมาแสดงนี้ จะเห็นว่าประเทศไทยของเรา มีดัชนีหดหู่อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ เรายังอยากเป็นเหมือนจีน หรือ อินเดีย อยู่หรือเปล่าครับ
แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ดี ข้อเท็จจริงก็คือ ถ้าเศรษฐกิจไม่โต การตกงานก็จะยิ่งมากขึ้น ยิ่งหดหู่ใหญ่ 
ดูแล้วเอาไปคิดกันเองนะครับ